ผู้เขียน หัวข้อ: ศูนย์ข้อมูลโควิด-19: รู้ให้ชัดก่อนฉีดวัคซีน COVID-19  (อ่าน 104 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 327
    • ดูรายละเอียด
ขอแจ้งให้ท่านทราบว่า ขณะนี้ทางโรงพยาบาลยังไม่มีบริการฉีดวัคซีนทางเลือก COVID-19 หากพร้อมให้บริการจะรีบแจ้งให้ท่านทราบโดยเร็วที่สุด
การฉีดวัคซีน COVID-19 ได้รับการยืนยันแล้วว่าช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค COVID-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะต้องทำควบคู่ไปกับการสวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง ล้างมือให้บ่อย และเลี่ยงพื้นที่แออัด ดังนั้นก่อนฉีดวัคซีน COVID-19 ควรรู้และเข้าใจข้อมูลให้ถูกต้อง

 
โรค COVID-19

โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่หรือโควิด-19 เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาซาร์โควี-2 (SAR-CoV-2) เป็นการแพร่เชื้อไวรัสจากคนสู่คน โดยได้รับเชื้อละอองฝอย (Droplets) จากการไอหรือจาม การสัมผัสสารคัดหลั่ง (Contact) เช่น น้ำลาย น้ำมูก เสมหะ เป็นต้น

ผู้ที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการใด ๆ บางรายอาจมีอาการเล็กน้อย เช่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ รู้สึกเหมือนมีไข้ เจ็บคอ และบางรายอาจมีอาการรุนแรง เช่น ติดเชื้อรุนแรงในปอด หรือมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงจนนำไปสู่การเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ จะมีอัตราการเกิดอาการรุนแรงที่สูงกว่าผู้ที่มีอายุน้อยและสุขภาพแข็งแรง เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจะมีระยะเวลาฟักตัว (ตั้งแต่ได้รับเชื้อไปจนถึงแสดงอาการ) ประมาณ 2 – 14 วัน จึงได้มีการกำหนดมาตรการให้กักตัวผู้มีความเสี่ยงสูงเมื่อสัมผัสผู้ติดเชื้อเป็นเวลา 14 วัน 


วัคซีน COVID-19

โดยปกติเมื่อเชื้อโรคทุกชนิดเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะมีวิธีจัดการเชื้อหลายแบบ หนึ่งในนั้นคือเม็ดเลือดขาวชนิด Macrophage จะกลืนเชื้อเข้าไปและทิ้งเศษซากเชื้อบางส่วนไว้เรียกว่า แอนติเจน (Antigen) ร่างกายจะรับรู้ว่าแอนติเจนคือสิ่งแปลกปลอมและจะสร้างแอนติบอดี (Antibody) มาจัดการสิ่งแปลกปลอมนั้น รวมถึงมีเม็ดเลือดขาวอีกชนิดหนึ่งที่จำว่าเชื้อโรคนี้คือสิ่งแปลกปลอม ถ้าหากได้รับเชื้อในอนาคตร่างกายจะสามารถจดจำและจัดการได้ การทำงานของวัคซีนเป็นไปในลักษณะเดียวกัน

วัคซีนป้องกันโควิด-19 จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสนี้ขึ้นมา ช่วยป้องกันการติดเชื้อหากได้รับเชื้อในอนาคต แต่ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งหลังฉีดวัคซีนร่างกายจึงจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้ การฉีดวัคซีนผู้รับวัคซีนยังต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด เช่น ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างทางสังคม เป็นต้น

วัคซีนอาจไม่สามารถป้องกันทุกคนที่ฉีดจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ แต่พบว่าสามารถลดความรุนแรงของโรคได้ และยังไม่มีข้อมูลว่าเมื่อฉีดแล้วจะมีภูมิคุ้มกันโควิด-19 ได้นานเท่าไร รวมถึงไม่มีข้อมูลว่าผลการฉีดวัคซีนให้ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือผู้ที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกันนั้น ทำให้ภูมิต่อไวรัสโควิด-19 มีผลลดลงกว่าในคนปกติหรือไม่


ชนิดของวัคซีน COVID-19

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก มีการคิดค้นวัคซีนโควิด-19 โดยหลายบริษัทผู้ผลิตและหลายรูปแบบ วิธีการผลิตวัคซีนหรือที่มาของวัคซีนมีหลายวิธีการ แต่ทั้งหมดคือให้ต่อต้านไวรัสโคโรนาซาร์โควี-2 (SAR-CoV-2) ไม่ให้เข้าสู่ร่างกายเพื่อไปก่อโรคได้ โดยที่ไวรัสนี้จะมีส่วนที่เป็นไกลโคโปรตีนยื่นออกจากเซลล์เรียกว่าสไปค์ (Spike) จะไปจับกับตัวรับ (Receptor) ที่อยู่บนเซลล์ในร่างกาย เช่น ที่ทางเดินหายใจหรือลำไส้ เมื่อจับกันแล้วไวรัสก็จะเข้าสู่ร่างกายและไปก่อโรค โดย 4 วิธีการที่มีการผลิตมากที่สุด ได้แก่

    messenger RNA (mRNA) vaccine เป็นวัคซีนที่มีส่วนที่กำกับการสร้างโปรตีนของไวรัส SAR-CoV-2 ที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เมื่อฉีดวัคซีนแล้วร่างกายจะสร้างโปรตีนชนิดนั้นขึ้นมาและทำลาย mRNA ที่ฉีดเข้าไป จากนั้นร่างกายจะรับรู้ว่าโปรตีนที่สร้างขึ้นมานั้นเป็นสิ่งแปลกปลอมและจะสร้างระบบภูมิคุ้มกันขึ้นมา
    Viral Vector เป็นวัคซีนที่ตัดต่อทางพันธุกรรมโดยการใช้สารทางพันธุกรรมของไวรัส SAR-CoV-2 ใส่เข้าไปในตัวไวรัสชนิดอื่นที่ไม่ก่อโรค (เรียกไวรัสนี้ว่า Viral Vector) เมื่อฉีดวัคซีนเข้าไปในร่างกายแล้ว Viral Vector จะพาเอาสารพันธุกรรมนั้นเข้าไปในเซลล์ของเรา ทำให้เกิดการสร้างโปรตีนที่จำเพาะต่อเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ขึ้นมา จากนั้นร่างกายจะรับรู้ว่าโปรตีนที่สร้างขึ้นมานั้นเป็นสิ่งแปลกปลอมและจะสร้างระบบภูมิคุ้มกันขึ้นมา
    Inactivated Virus Vaccine หรือวัคซีนเชื้อตาย ผลิตโดยการเลี้ยงไวรัสชนิดนี้ให้ได้ปริมาณมากแล้วมาทำให้ตายด้วยสารเคมีหรือความร้อน เมื่อฉีดวัคซีนแล้วร่างกายจะรับรู้ว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมและจะสร้างระบบภูมิคุ้มกันขึ้นมา
    Protein Subunit Vaccine เป็นการผลิตวัคซีนมาจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เมื่อฉีดวัคซีนแล้วร่างกายจะรับรู้ว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมและจะสร้างระบบภูมิคุ้มกันขึ้นมา


ใครควรได้รับวัคซีน

บุคคลทั่วไปควรได้รับวัคซีน แต่ขณะนี้มีการผลิตวัคซีนได้ในจำนวนจำกัดและมีข้อมูลการฉีดในประชากรบางกลุ่มเท่านั้น กรมควบคุมโรคจึงกำหนดกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับวัคซีนตามลำดับ เริ่มจากพื้นที่ที่มีการระบาดก่อน ได้แก่

    บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน
    ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น
    ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป (ข้อมูล ณ วันที่ 3 มีนาคม 2564 ประชากรกลุ่มนี้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้บางชนิดเท่านั้น)
    เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด-19 เช่น อสม./อสต. ทหาร ตำรวจ จะต้องคัดกรองผู้ที่เข้ามาจากต่างประเทศและในพื้นที่ที่มีการระบาด

***ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเรื่องการให้วัคซีนในเด็กต่ำกว่า 18 ปี หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร แพทย์อาจจะพิจารณาความจำเป็นเป็นราย ๆ ไป ถ้าเห็นว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนจะได้รับประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง


วัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย

วัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มีนาคม 2564) มี 2 ชนิดคือ

    วัคซีนป้องกันโควิด-19 แอสตร้าเซนเนกา (COVID-19 Vaccine AstraZeneca) เป็นวัคซีนแบบ Viral Vector  ฉีดในผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ฉีดเข้ากล้ามครั้งละ 0.5 มิลลิลิตร (แนะนำให้ฉีดบริเวณต้นแขน) โดยฉีดทั้งหมด 2 ครั้ง ครั้งที่ 2 ฉีดห่างจากครั้งแรก 4 – 12 สัปดาห์
    CoronaVac หรือ Sinovac COVID-19 vaccine เป็นวัคซีนเชื้อตาย (Inactivated Vaccine) ฉีดในผู้ที่มีอายุ 18 – 59 ปี โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อครั้งละ 0.5 มิลลิลิตร (แนะนำให้ฉีดบริเวณต้นแขน) โดยฉีดทั้งหมด 2 ครั้ง ครั้งที่ 2 ฉีดห่างจากครั้งแรก 2 – 4 สัปดาห์ (ผู้ที่อยู่บริเวณความเสี่ยงสูงหรือระบาดรุนแรงแนะนำให้ฉีดครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 2 สัปดาห์)

***เมื่อฉีดวัคซีนทั้ง 2 ชนิดในครั้งแรกแล้ว ควรมารับวัคซีนครั้งที่ 2 ให้ครบถ้วนตามกำหนดเพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการป้องกันโรค ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลประสิทธิภาพการฉีดวัคซีนครั้งที่ 1 และ 2 คนละชนิดกันได้ผลเป็นอย่างไร จึงยังไม่มีคำแนะนำในการสลับการฉีดคนละยี่ห้อ และยังไม่มีข้อมูลว่าควรฉีดกระตุ้นภูมิเมื่อใดหลังจากฉีดวัคซีนครบ 2 ครั้งแล้ว


อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

ผู้ที่รับวัคซีนอาจมีอาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนหรือไม่มีก็ได้ อาการข้างเคียงที่อาจพบได้มีดังนี้

    อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ ปวด บวม แดง คัน หรือช้ำบริเวณที่ฉีดยา อ่อนเพลีย และรู้สึกไม่สบายตัว ปวดศีรษะเล็กน้อย อาการคล้ายมีไข้  คลื่นไส้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อ
    อาการที่พบได้ไม่บ่อยหรือพบได้น้อย เช่น มีไข้ มีก้อนที่บริเวณที่ฉีดยา เวียนศีรษะ มึนงง ใจสั่น ปวดท้อง อาเจียน ความอยากอาหารลดลง เหงื่อออกมากผิดปกติ ต่อมน้ำเหลืองโต อาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ไอ เป็นต้น


ข้อห้ามในการฉีดวัคซีน

มีประวัติแพ้รุนแรงต่อส่วนประกอบของวัคซีน หรือผู้ที่ฉีดเข็มแรกแล้วมีอาการแพ้รุนแรง เช่น หายใจติดขัด (Shortness of Breath) มีอาการบวมที่หน้า ลิ้น หรือในทางเดินหายใจ เป็นต้น


ข้อควรระวัง

สิ่งที่ต้องแจ้งบุคลากรทางการแพทย์ก่อนฉีดวัคซีน ได้แก่

    มีประวัติการแพ้ยา วัคซีน อาหาร สารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ อย่างรุนแรงหรือจนเป็นอันตรายต่อชีวิต
    มีไข้เกิน 38 องศาเซลเซียสในวันที่นัดฉีดวัคซีน
    มีรอยช้ำ หรือจ้ำเลือด หรือเลือดออกผิดปกติ หรือใช้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดอยู่ เช่น วาร์ฟาริน
    ผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือใช้ยากดภูมิคุ้มกันอยู่ เช่น สเตียรอยด์ขนาดสูง ยารักษาโรคมะเร็ง หรือยากดภูมิคุ้มกัน
    อาการข้างเคียงทุกชนิดจากการฉีดวัคซีนชนิดนี้ในเข็มแรก
    ตั้งครรภ์ หรือมีแผนจะตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร

***อาการเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น มีไข้เล็กน้อย แพทย์อาจให้ฉีดวัคซีนได้โดยไม่จำเป็นต้องเลื่อนการฉีด กรณีเจ็บป่วยรุนแรงแพทย์อาจเลื่อนการฉีดออกไปก่อน โดยพิจารณาจากอาการของผู้ป่วยเป็นสำคัญ

การปฏิบัติตัวหลังได้รับวัคซีน

ผู้ฉีดวัคซีนจะต้องอยู่เฝ้าสังเกตอาการที่สถานพยาบาลหลังฉีดวัคซีนอย่างน้อย 30 นาที โดยระหว่างนั้นและหลังจากนั้นให้สังเกตอาการข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นตามข้างต้น และให้แจ้งอาการข้างเคียงทุกอย่างที่เกิดขึ้นแก่แพทย์ พยาบาล เภสัชกรด้วย เนื่องจากวัคซีนนี้เป็นวัคซีนชนิดใหม่อาจจะมีบางอาการที่ยังไม่พบตามข้างต้น หากมีอาการเล็กน้อย เช่น ปวดศีรษะ มีไข้ต่ำ ๆ สามารถรับประทานยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการได้ หากมีอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะรุนแรง ให้มาพบแพทย์โดยทันที และให้เก็บบันทึกการฉีดวัคซีนไว้เป็นหลักฐานด้วย


ตั้งแต่เริ่มมีการพบเชื้อไวรัส COVID-19 ในปลายปี พ.ศ. 2562 นอกจากการสูญเสียชีวิตยังเกิดผลกระทบหลายอย่างตามมาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม การคิดค้นวัคซีนเพื่อป้องกันโรคจึงเป็นหนทางสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยลดการติดเชื้อและความสูญเสีย ซึ่งปัจจุบันวัคซีนโควิด-19 ยังต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง โดยทิศทางงานวิจัยในอนาคต คือ ค้นคว้าวิจัยหายารักษาให้ได้และหาวัคซีนที่ได้ผลดีต่อเชื้อทุกสายพันธุ์อย่างปลอดภัย


ศูนย์ข้อมูลโควิด-19: รู้ให้ชัดก่อนฉีดวัคซีน COVID-19 อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/covid-19

 

ลงประกาศฟรี ติด google ลงโฆษณา ขายของ ฟรี โพสต์ฟรี ลงประกาศฟรี ขายฟรี ขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ประกาศฟรี ขายฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google